java

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ blog ของนาย รังสรรค์ นาคนันท์
  • home
  • E-booK
  • โครงงานยี่ห้อรถยนต์ในประเทศไทย
  • ยี่ห้อหลักเกี่ยวกับรถยนต์
  • ยี่ห้อรถยนต์ที่สำคัญในประเทศไทย
  • ประวัติผู้จัดทำ
  • วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556

    ยี่ห้อรถยนต์

    โลโก้รถ อดีตถึงปัจจุบันรวมรูปโลโก้รถ ยี่ห้อดังจากอดีตถึงปัจจุบัน ทั้งความหมาย และที่มาของโลโก้ที่มีความหมาย ที่ต้องการจะสื่อถึงผู้ใช้มากมาย



    โลโก้เบนซ์ ( Logo Benz ) มีลักษณะแทนด้วยดาวสามแฉก ซึ่งแต่ละแฉกต้องการจะสื่อให้เห็นว่ามอเตอร์ของ Benz สามารถใช้ได้กับทั้งพาหนะทางพื้นดิน ทางน้ำ และทางอากาศ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โลโก้นี้ได้รับการออกแบบโดย Gottlieb Daimler เมื่อปี 1909 และได้มีการเพิ่ม กิ่งไม้สองกิ่ง เมื่อปี 1926 เพื่อสื่อให้เห็นถึงการควบรวมตัวกันของสองบริษัท ระหว่าง Benz & Cie. กับ Daimler Motoren Gesellschaft (DMG) ในปี 1926


    โลโก้ BMW โดย BMW ย่อมาจากคำว่า Bayerische Motoren Weke (เป็นภาษาเยอรมัน) Bavaria Motor Works (เป็นภาษาอังกฤษ) แปลว่า ยนตรกรรมแห่งแคว้นบาเยิร์น ส่วนโลโก้รูปวงกลมคือล้อที่มีความหมายถึงการขับเคลื่อน สีฟ้าสลับสีฟ้าขาว แทนสัญลักณ์ของธงแคว้นบาเยิร์น


    โลโก้รถฟอร์ด ( Ford )


    โลโก้รถ โฟล์คสวาเก้น ( Volkswagen )


    โลโก้รถ FIAT


    โลโกรถ PEUGEOT


    โลโก้รถ RENAULT


    โลโก้รถ ALFA ROMEO


    โลโก้รถ มาสด้า ( mazda )


    โลโก้รถ มิตซูมิชิ


    โลโก้รถ ASTONMARTIN


    ซ้ายโลโก้รถ SAAB ขวาโลโก้รถ AUDI



    โลโก้รถ BUICK


    โลโก้รถ CADILLAC



    ประวัติศาสตร์รถยนต์ในประเทศไทย

    ประวัติศาสตร์รถยนต์ในประเทศไทย
                           รถยนต์เป็นเทคโนโลยี่ของศตวรรษที่ 20 เข้ามาถึงประเทศไทยเป็นครั้งแรกเมื่อไรนั้น ยังไม่ทราบแน่ชัด เข้าใจว่าคนที่สั่งรถยนต์เข้ามาใช้ในประเทศไทยคนแรกเป็นชาวต่างชาติ   ไม่ทราบว่าเป็นยี่ห้อใด มีรายละเอียดบางประการอธิบายไว้ในสาสน์สมเด็จ อันเป็นลายพระหัตถ์โต้ตอบของพระบรมศานุวงศ์สองพระองค์คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ องค์สถาปนิกผู้สังสรรค์สร้างวัดเบญจมบพิตร กับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กนมพระยาดำรงราชานุภาพ บิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย โดยลายพระหัตถ์เมื่อปี พ.ศ. 2458 สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ กราบทูลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพว่า รถยนต์คันแรกในประเทศไทยรูปร่างคล้ายรถบดถนน ล้อยางตัน มีหลังคาเป็นปะรำ มีที่นั่งสองแถว ใช้น้ำมันปิโตรเลียม ไฟหน้าลักษณะคล้ายเตาฟู่ เช่นเดียวกับรถยุคแรกๆ ส่วนใหญ่เครื่องยนต์มีกำลังเพียงพอสำหรับวิ่งบนที่ราบ แต่ไม่เพียงพอที่จะขึ้นสะพานได้ ข้อด้อยดังกล่าวจึงจึงทำให้การใช้งานมีขีดจำกัด เนื่องจากบางกอกสมัยนั้นใช้การขนส่งทางเรือเป็นหลัก สะพานข้ามคลองจึงต้องยกสูงเพื่อให้เรือลอดได้ แต่กลับเป็นปัญหาสำคัญในการใช้รถยนต์ หรือยวดยานที่มีล้อ
                           หลังจากนำรถยนต์เข้ามาในเมืองไทยได้ไม่นาน ชาวต่างชาติผู้นั้นก็ขายต่อให้แก่ จอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) ซึ่งสมควรได้รับการยกย่องว่าเป็นคนไทยคนแรกที่ก่อกำเนิดยุครถยนต์ในประเทศไทย เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีเป็นคนหัวสมัยใหม่ นิยมชมชอบในเรื่องเครื่องยนต์กลไก ทั้งใฝ่รู้ในสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ และพอใจที่จะเป็นเจ้าของเครื่องยนต์กลไกแปลกใหม่ ในทันทีที่มีการจำหน่าย
                            ในลายพระหัตถ์ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงเล่าว่า ในตอนแรกที่ซื้อรถคันดังกล่าวมา เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีไม่สามารถขับได้ เพราะเกียร์แข็ง เข้ายาก ต้องให้น้องชายคือ พระยาอนุทูตวาที (เข็ม แสงชูโต) แก้ไขให้ พระยาอนุทูตวาที มีอายุอยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2413-2482 และมีหัวในเรื่องเครื่องยนต์กลไก และเป็นคนไทยคนแรกที่สามารถพันทุ่นมอเตอร์ได้ เป็นคนไทยคนแรกที่ไปรับจ้างทำงานในประเทศอังกฤษ จึงเป็นคนไทยคนแรกที่สามารถขับรถยนต์ในประเทศไทยด้วย
      
    จอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต)           พระยาอนุทูตวาที (เข็ม แสงชูโต)
                           พระยาอนุทูตวาที สามารถเรียนรู้การขับรถยนต์คันดังกล่าวได้อย่างรวดเร็ว และยังได้ถ่ายทอดให้กับผู้อื่นอีกด้วย รถยนต์ของเจ้าพระยาสรุศักดิ์มนตรี วิ่งใช้งานตามถนนในเมืองบางกอกอยู่นานหลายปี ต่อมาในปี พ.ศ. 2471 กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงจัดพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนครขึ้น และทรงขอให้นำรถยนต์คันดังกล่าวมาตั้งแสดงด้วย จอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ก็ยอมอนุญาติด้วยความเต็มใจ โดยกราบทูลว่า พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงนำรถไปซ่อมที่กองลหุโทษ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงทราบต่อมาภายหลังว่า พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ได้สิ้นพระชนม์เสียก่อนที่จะซ่อมเสร็จ และรถก็ถูกทอดทิ้งไว้โดยไม่มีใครดูแล จนเมื่อได้เสด็จไปที่กองลหุโทษ และถามหารถคันดังกล่าว พนักงานก็ทำท่าพิศวง และยิ้มอย่างสลดใจ แล้วนำเสด็จไปยังมุมห้อง ณ ที่นั้น คือกองโลหะที่หลงเหลือจากน้ำมือพ่อค้าเศษเหล็ก และนั่นคือจุดจบของรถยนต์คันแรกในประเทศไทย จากฝุ่นธูลีสู่เศษสนิม

    พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
                               ในปี พ.ศ. 2447 มีรถยนต์ 3 คัน เข้ามาวิ่งตามถนนในเมืองบางกอก ไม่มีการบันทึกไว้ว่าเป็นยี่ห้ออะไร ใครเป็นเจ้าของ ช่วงนั้นรัฐบาลเริ่มเล็งเห็นในบทบาทและความสำคัญของรถยนต์แล้ว โดยได้แจ้งความโฆษณาในหนังสือพิมพ์บางกอกไทม์ ในปีเดียวกัน ระบุว่าโรงกษาปณ์หลวงมีความต้องการซื้อรถยนต์บรรทุกแวนเพื่อใช้ขนส่งทองแท่ง เงินแท่ง และเหรียญกษาปณ์ หนักหนึ่งตัน ต้องวิ่งได้เร็วไม่น้อยกว่า 10 ไมล์ต่อชั่วโมง พร้อมด้วยหลังคาปะรำสำหรับคนขับ และพนักงานประจำรถ
                                ในปีเดียวกันอีก พระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ทรงพระประชวร ต้องเสด็จไปรักษาพระองค์ที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส ขณะที่ประทับอยู่ที่นั่น ได้ทรงสั่งซื้อรถยนต์คันหนึ่ง เป็นรถเดมเลอร์-เบนซ์ ซึ่งถือว่าเป็นรถชั้นเยี่ยมในยุคนั้น ทรงซื้อรถคันดังกล่าวจาก มองซิเออร์ เอมีเลอ เจลลีเนค ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายรถยี่ห้อนั้น ในประเทศฝรั่งเศส มองซิเออร์ เอมีเลอ เจลลีเนค มีลูกสาวคนหนึ่งชื่อ เมร์เซเดส ต่อมาภายหลังชื่อนี้ถูกนำไปใช้แทนชื่อ เดมเลอร์ กลายเป็น เมร์เซเดส- เบนซ์ ที่เลื่องลือไปทั่งโลก
                               เมื่อเสด็จกลับประเทศไทยในปลายปีนั้น พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ได้น้อมเกล้าถวายรถคันดังกล่าวแด่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นับได้ว่าเป็นรถยนต์พระที่นั่งคันแรกในประวัติศาสตร์ไทย โดยพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงรับหน้าที่เป็นสารถีด้วยพระองค์เอง

    คู่มือในการใช้รถยนต์

    -


    ซึ่งแน่นอนละ ถ้าเพื่อน ๆ ได้อ่านรีวิวของผมมาแล้ว ในเรื่องกุญแจ ไม่ว่าจะที่ รีวิว Nissan March VL CVT by Biere มันคุ้มค่าแค่ไหน…ที่เฝ้ารอ?

    หรือ รีวิว NISSAN ALMERA BY BIERE ตอนที่ 4 “กุญแจรถอัลเมร่า รุ่นไหน ใช้งานอย่างไร?”

    ก็คงจะรู้และเข้าใจความหมายของปุ่มไปเรียบร้อยแล้ว

    แต่ช่วงหลัง ผมกลับพบว่า มีคำถามส่งเข้ามาอยู่เรื่อย ๆ ว่า ปุ่มนี้คืออะไร ทำไมกดแล้ว ไม่เห็นมีอะไรเกิดขึ้น หรือมันเป็น option สำหรับเมืองนอก?


    และล่าสุด ผมได้ไปทานข้าวกับรุ่นพี่คนหนึ่ง ที่ชอบขี้หลง ขี้ลืมเป็นประจำว่า ตัวเองนั้นจอดรถไว้ที่ไหน ทำให้เดือดร้อนต้องคอยเดินหาอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ซึ่งผมก็ได้เห็นว่า เธอนั้นใช้กุญแจอัจฉริยะ แต่เธอกลับไม่ใช้งานปุ่มนี้ให้่เป็นประโยชน์

    ผมจึงต้องเขียน Blog เฉพาะเรื่องนี้ขึ้นมา เพื่อให้เพื่อน ๆ ที่ยังไม่เข้าใจได้อ่าน จะได้รู้ว่า ปุ่มนี้ใช้งานได้จริง และมีประโยชน์มากมาย


    สำหรับปุ่มนี้ ถ้าใครได้ลองกด 1 ที จะไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่ถ้ากดค้างเมื่อไหร่ บรรลัยเกิด ระเบิดดังตู้ม!!

    แว๊กกกก ไม่ใช่และ!!! ปุ่มนี้เมื่อเพื่อน ๆ กดค้าง เสียงแตรของรถจะดังขึ้นอย่างต่อเนื่อง เหมือนสัญญาณไฟไหม้ห้างไม่มีผิดเพี้ยน

    โดยจะดังยาวนานประมาณ 25 วินาที ถึงจะหยุด หรือจนกว่าเพื่อน ๆ จะกดปุ่มที่รีโมทปุ่มใดปุ่มหนึ่ง 1 ที เพื่อหยุดเสียงของมัน

    ซึ่งปุ่มนี้เจ้าจะใช้ต่อเมื่อ

    กรณีที่ 1

    ไปจอดรถไว้ในที่สาธารณะแล้วพอดีเกิดขี้หลง ขี้ลืม หารถไม่เจอ ก็กดปุ่มนี้ เพื่อถามว่า
    “รถจ๋า เธออยู่ไหน?”
    รถก็จะตอบกลับว่า
    “ฉันอยู่นี่……” แป๊ด แป๊ด แป๊ด แป๊ด แป๊ด
    เพื่อน ๆ ก็เดินไปตามเสียงร้องของรถได้เลยครับ แล้วถ้าเห็นพิกัดน้องมาร์ชหรือน้องอัลแล้ว อย่าลืมกดปุ่มที่รีโมทอีกครั้งเพื่อปิดเสียงด้วยละ เดี๋ยวคนแถวนั้นตื่นเต้น ตกใจ ขนตู้เย็น วิ่งออกจากบ้าน ไม่รู้ด้วยนะเออ!!!




    กรณีที่ 2

    เพื่อน ๆ อาจจะเห็นใครมาด้อม ๆ มอง ๆ หรือทำอะไรมิดีมิร้ายกับน้องมาร์ชหรืออัลของเรา ไม่ว่าจะหมาเตรียมฉี่ใส่ล้อ หรือโจรเตรียมแงะโลโก้ ก็กดปุ่มนี้ เพื่อให้คน(หรือหมา)เหล่านั้นตกใจ และหนีไป รวมถึงเรียกร้องความสนใจจากคนแถวนั้นให้หันมามองด้วย ว่ามีอะไรเกิดขึ้น

    จะว่าไป หลักการคล้ายสัญญาณกันขโมยทั่วไปนั่นแหล่ะครับ เพียงแต่ต้องกดปุ่มด้วยตัวเองครับ

    อ๋อ ผมจะเล่าให้ฟังถึงการใช้งานจริงว่า มีอยู่วันหนึ่งผมพาคุณพ่อ คุณแม่ไปทานข้าวที่ห้างแฟชั่นฯ ตามประสาลูกที่(พยายามจะทำตัว)ดี

    ทานข้าวเสร็จ ผมแวะเข้าห้องน้ำก่อน แล้วเดินออกมาพร้อมคุณแม่และภรรยา ก็เห็นไกล ๆ ว่า คุณพ่อเดินมายืนรอที่รถอยู่แล้ว

    ผมนึกสนุก เลยแกล้งดึงดึงกุญแจมากดปุ่มสีแดงค้างไว้ เสียงแตรบรรเลงก้องกังวาลอย่างรวดเร็ว ภาพที่ผมเห็นคือ คุณพ่อสะดุ้งตกใจ และกระโดดถอยห่างจากรถทันที

    ซึ่งงานนี้ผมก็ต้องไปกราบขอโทษคุณพ่อกันที่รถนั่นแหล่ะครับ ที่ทำให้ท่านตกใจ แต่ผลที่เกิดขึ้น ก็ทำให้ผมรู้ว่า การใช้งานกุญแจในกรณีที่ 2 สามารถใช้ได้จริงครับ

    ทีนี้ ลองมาดูคลิป VDO การกดปุ่มจริงจากผมกันครับ ว่ากดแล้ว เป็นยังไง



    ซึ่งในคลิป เพื่อน ๆ จะเห็นได้ชัดเจนแล้วนะครับ ว่าการกดปุ่มทำยังไง และเสียงดังอย่างไร ซึ่งต้องบอกเพื่อน ๆ ก่อน ว่าผมได้เปลี่ยนแตรมาใหม่เรียบร้อยแล้วนะครับ เสียงแตรจะดังกว่าแตรมาตรฐานปกติ

    และด้วยการใช้งานแบบนี้ ทางวิศวกรจึงออกแบบให้ใช้การ “กดค้าง” แทนการกดทีเดียวนั่นเองครับ เพื่อป้องกันการเผลอกดโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งจะทำให้ชาวบ้านตกอก ตกใจกันไปเปล่า ๆ

    ส่วนระยะการกดนั้น จะได้ไกลมากน้อยแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของถ่านกุญแจด้วยครับ



    ถ้าถ่านใหม่ ๆ ก็ได้ไกลหน่อย ถ้าถ่านใช้บ่อย ๆ ระยะก็ถดถอยลงไปเรื่อย ๆ

    ซึ่งถ้าเพื่อน ๆ ลองกดแล้ว ใกล้ ๆ ก็ยังไม่ติด แสดงว่าถ่านอ่อนแล้วครับ ให้เปลี่ยนถ่านทันที ตามวิธีที่ผมรีวิวไว้ใน วิธีเปลี่ยนถ่าน “กุญแจอัจฉริยะ” ของ Nissan March รุ่น EL CVT และ VL CVT

    แต่ถ้าเปลี่ยนถ่านแล้ว ยังกดค้างไม่ติดอีก แสดงว่าระบบมีปัญหาแล้ว ให้นำรถเข้าตรวจสอบที่ศูนย์นิสสันได้ทันทีครับ

    สำหรับรีวิว “ปุ่มสีแดง” ก็จบลงแต่เพียงเท่านี้นะครับ ขอบคุณที่เข้ามาอ่านและชมคลิปครับ

    ความสำคัญการใช้รถยนต์

    ความสำคัญและประเภทต่างๆ ของรถยนต์

    ความหมายของรถยนต์

    รถ หมายถึง ยานอันมีล้อ
    ยนต์ หมายถึง เครื่องกลไก , เครื่องจักรที่ใช้แรงระเบิดเดินเครื่อง
    เครื่องยนต์ คือ ต้นกำเนิดของกำลังที่ทำให้ล้อหมุนพารถเคลื่อนที่ไป
    สรุปได้ว่า รถยนต์ คือ ยานมีล้อที่สามารถเคลื่อนที่เดินหน้า และถอยหลังได้ด้วยแรงระเบิด ที่เกิดขึ้นภายในเครื่องยนต์
    ความสำคัญของรถยนต์
    รถยนต์เป็นยานพาหนะที่มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์ ทำหน้าที่รับส่งคนระหว่างบ้านกับหน่วยงานและช่วยให้มีความสะดวก รวดเร็วประหยัดเวลาในการติดต่อธุรกิจ
    นอกจากนี้ยังมีความสำคัญต่อสังคมชาวไทยทุกสาขาอาชีพ และนับวันที่จะเพิ่มความสำคัญมากขึ้น แม้แต่ชนบท หรือถิ่นทุรกันดาน รัฐบาลก็ตัดถนนหนทาง เชื่อมโยง เพื่อให้รถยนต์เข้าถึง และนำความอยู่ดีกินดี ความสะดวกสบายไปให้
    ประเภทต่างๆ ของรถยนต์
    ประเภทของรถยนต์จัดแบ่งได้หลายประเภท หรือหลายวิธี ตามลักษณะรูปร่าง หรือ ต้นกำเนิดกำลังขับเคลื่อนหรือตัวเครื่องยนต์
    1. แบ่งตามการใช้นำมันเชื้อเพลิง แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
    1.1 รถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์เบนซิน รถยนต์ประเภทนี้ใช้น้ำมันเบนซินเป็นเชื้อเพลิง มีใช้ทั้งรถเก๋ง รถบรรทุกเล็ก (รถกระบะ)
    1.2 รถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล รถยนต์ประเภทนี้มีใช้ทั้งรถเก๋ง รถบรรทุกขนาดเล็ก รถบรรทุกขนาดใหญ่ รถโดยสาร รถไถนา รถเกรดดิน ฯลฯ รถยนต์ประเภทนี้ใช้น้ำมันโซล่า หรือน้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง
    1. แบ่งตามลักษณะ ได้แก่
    2.1 รถเก๋ง 2 ตอน
    2.2 รถเก๋ง 3 ตอน
    2.3 รถเก๋งเปิดประทุน
    1.1 รถเก๋งสปอร์ตหลังคาอ่อน
    1.2 รถเก๋งตรวจการ
    1.3 รถจี๊ฟ
    1.4 รถตู้
    1.5 รถบรรทุกเล็ก หรือ รถกระบะ
    1.6 รถบรรทุก 6 ล้อ
    1.7 รถบรรทุก 10 ล้อ
    1.8 รถดั๊ม
    1.9 รถบรรทุกตู้ทึบ
    1.10 รถบรรทุกน้ำมัน
    1.11 รถโดยสาร
    ฯลฯ